Last updated: 8 มี.ค. 2562 | 5719 จำนวนผู้เข้าชม |
สิทธิที่ไม่สามารถยันบุคคลทั่วไปได้ มีผลผุกพันคู่กรณีเท่านั้น สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเรียกร้อง ที่เกิดขึ้นโดยสัญญา ซึ่งผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าได้ใช้ หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สิน อันเป็นหนี้เหนือบุคล หรือบุคคลสิทธิ ซึ่งมีผลผูกพันธ์เฉพาะคู่สัญญา หาใช่เป็นสิทธิเหนือทรัพย์สิ้น หรือเป็นทรัพยสิทธิไม่
ตัวอย่างเช่น คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๕๐๔/๒๕๕๑
แม้โจทก์จะมีสิทธิใช้สอยตึกพิพาทในฐานะเป็นผู้เช่าตามสัญญาเช่า แต่โจทก์ก็ยังไม่เคยเข้าครอบครองตึกพิพาทตามสัญญาเช่ามาก่อน ที่จำเลยและบริวารอยู่ในตึกพิพาทก็โดยอาศัยสิทธิของ จ. ไม่ได้อาศัยสิทธิของโจทก์ การที่จำเลยและบริวารยังคงอยู่ในตึกพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการละเมิดต่อเจ้าของตึกหาใช่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ารายใหม่ไม่ จำเลยจึงไม่ได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์เนื่องจากโจทก์กับจำเลยต่างไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกจากตึกพิพาทโดยลำพังได้ข้อ
ข้อสังเกตุของผู้เขียน
- โจทก์มีสิทธิตามสัญญาเช่า ผูกพันกับ ผู้ให้เช่า เป็นบุคคลสิทธิ
- โจทก์ก็ยังไม่เคยเข้าครอบครองตึกพิพาท โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครอง ซึ่งเป็นทรัพยสิทธิ หากโจทก์ได้เข้าครอบครอง จะเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ ทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง( เจตนายึดถือเพื่อตน เป็นสิทธิครอบครองเป็นทรัพยสิทธิอย่างหนึ่ง)
- เจ้าของตึก เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตึกพิพาท มีทรัพยสิทธิใช้ยันบุคคลทั่วไป ดังการที่จำเลยอยู่ในตึกพิพาทจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิ เจ้าของตึก
- จะเห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องผิดคน โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบ
ตรินัยน์ โชตเศรษฐ์ภาคิน (นบ. น.บ.ท.)
ทนายความวิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์
23 พ.ค. 2567
28 ต.ค. 2563
22 พ.ค. 2567
7 มิ.ย. 2567