กฎหมายใก้ลตัว

Last updated: 8 มี.ค. 2562  |  2031 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กฎหมายใก้ลตัว

ลูกหนี้ทั้งหลายเมื่่อเวลาไปกู้ยืมเงิน ก็จะยอมตกลงกับเจ้าหนี้้ทุกประการ เจ้าหนี้จะเรียกดอกเบี้ยเท่าไหร่ก็ยอม เพราะร้อนเงิน ต้องการเงินไปแก้ปัญหา  เช่นเจ้าหนี้เรียกดอกเบี้ยร้อยละ 5 หรือ3 บาทต่อเดือน  ผลจะเป็นอย่างไร

คำพิพากษาฎีกาที่ 5376/2560   

                              การที่จำเลยยอมชำระดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 411 จำเลยหาอาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระได้ไม่ แต่ในข้อนี้ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่า โจทก์ในฐานะผู้ให้กู้เป็นฝ่ายเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้จากจำเลย เมื่อข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยเป็นโมฆะแล้วและจำเลยไม่อาจเรียกร้องให้คืนเงินดอกเบี้ยที่ชำระฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายได้ โจทก์ก็ย่อมไม่มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยดังกล่าวด้วย ต้องนำดอกเบี้ยที่จำเลยชำระให้แก่โจทก์ 7,500 บาท ไปหักเงินต้นตามหนังสือสัญญากู้เงินฉบับที่หนึ่ง คงเหลือหนี้เงินกู้ตามหนังสือสัญญากู้เงินฉบับนี้ 42,500 บาท เมื่อหนังสือสัญญากู้เงินทั้งสองฉบับได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทินและจำเลยมิได้ชำระหนี้ตามกำหนด จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญากู้เงินทั้งสองฉบับพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมายนับแต่วันผิดนัดคือวันถัดจากวันครบกำหนดชำระหนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง

 ข้อสังเกตุ

  - คำพิพากษาฎีกาที่ 2131/2560 วินิจฉัยเช่นเดียวกัน

   

ตรินัยน์  โชติเศรษฐ์ภาคิน   (นบ.  น.บ.ท.)

ทนายความวิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์


Powered by MakeWebEasy.com