Last updated: 7 มิ.ย. 2567 | 984 จำนวนผู้เข้าชม |
สืบเนื่องจากเศรษฐกิจไม่ค่อยจะสู้ดี บรรดาผู้เช่าซื้อจึงมีการคืนรถที่เช่าซื้อบางรายส่งไม่ไหวก็ถูกยึดไป จึงทำให้มีหนี้ตามมาอีก จึงมีคำถามมากมายถามทนายว่า ผู้ค้ำประกันรถยนต์ต้องรับผิดชอบไหม และรับผิดชอบอะไรบ้าง หรือคนค้ำจะโดนอะไรบ้าง, ทางออกของผู้ค้ำประกันรถยนต์, ผู้ค้ำประกันตามกฎหมายใหม่มีอะไรบ้าง รับผิดเพียงใด หลุดพ้นด้วยวิธีการใด หรือหนทางใดที่ให้ยอดหนี้ลดจำนวนลงบ้าง ขอผ่อนชำระได้ไหม เป็นคำถามที่มีผู้ถามมามาก แต่ละคดีมีข้อเท็จจริงที่แตกต่างกันไป คดีใดที่ไม่มีทางต่อสู้ก็จะให้คำแนะนำจำเลยไป ถ้าคดีใดมีทางต่อสู้เพื่อให้พ้นผิดก็จะรับทำให้
เรื่องมีข้อเท็จจริงดังนี้ : ผู้เช่าซื้อผิดนัด ๒ งวด แล้วนำรถไปคืน บริษัทฯ ไม่โต้แย้งใดๆ รับรถคืนไป ต่อมานำรถออกขายทอดตลาดเรียกส่วนต่างอีก ๔ แสนกว่าบาท เงินส่วนนี้ผู้ซื้อ และผู้ค้ำ ไม่ต้องรับผิดครับ เพราะบริษัท ไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อที่ ...ว่าเมื่อคืนรถจำเลยต้องชำระเงินที่ค้างค่างวดให้แก่บริษัททันที ปรากฏว่าไม่มีการชำระเงินดังกล่าวมีผลก็เท่ากับว่า บริษัท รับรถคืนโดยไม่ถูกต้อง สัญญาเลิกกันโดยปริยาย บริษัท จะอาศัยสัญญาที่เลิกกันแล้วมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองต้องรับผิดอีกไม่ได้ ประกอบกับกรณีนี้ผู้เช่าซื้อนำรถไปคืนเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเนิ่นช้า จึงไม่รอให้ผิดนัดถึง ๓ งวดหรืองวดต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4607/2562
แม้ตามสัญญาเช่าซื้อ ข้อ 12 จะให้สิทธิผู้เช่าซื้อในการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเสียเมื่อใดก็ได้ โดยผู้เช่าซื้อจะต้องส่งคืนและส่งมอบรถยนต์ในสภาพที่ซ่อมแซมเรียบร้อยและใช้การได้ดีในสภาพเช่นเดียวกับวันที่รับมอบรถยนต์ไปจากเจ้าของพร้อมทั้งอุปกรณ์ และอะไหล่ทั้งหมดให้แก่เจ้าของ ณ สำนักงานของเจ้าของ แต่สัญญาข้อดังกล่าวยังระบุเงื่อนไขต่อไปอีกว่า "และชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญานี้อยู่ในเวลานั้นทันที..." แสดงให้เห็นว่า กรณีที่จะถือว่าเป็นการเลิกสัญญาตามสัญญาเช่าซื้อข้อดังกล่าว ก็ต่อเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์พร้อมกับชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญานี้อยู่ในเวลาที่ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์แล้ว เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า นอกจากจำเลยที่ 1 จะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ชำระเงินทั้งปวงที่ถึงกำหนดชำระหรือเป็นหนี้ตามสัญญาแก่โจทก์ทันที อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงในสัญญาเพื่อใช้สิทธิเลิกสัญญา กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อตามสัญญาข้อ 12 ที่จะทำให้โจทก์มีสิทธิเรียกค่าขาดราคาตามสัญญาข้อ 13 พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์โดยไม่ปรากฏข้อโต้แย้งคัดค้านของโจทก์ ถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างสมัครใจเลิกสัญญาต่อกันโดยปริยาย โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกค่าขาดราคา(ส่วนต่าง)อันเป็นค่าเสียหายตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้อได้
ปรึกษาได้ครับ ยินดีให้คำปรึกษาครับ
นายตรินัยน์ โชติเศรษฐ์ภาคิน ( นบ., นบท.)
ID Line : 0635955444
28 ต.ค. 2563
7 มิ.ย. 2567
23 พ.ค. 2567